ข่าวสารกองแผนงาน
เมื่อวันที่ 24-25 มีนาคม 2568 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดกิจกรรม "การถ่ายทอดและสร้างความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) ปรับปรุงปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (กิจกรรม More Focus)" ผ่านโครงการ CMU Strategic Sync ณ ห้องประชุมอินทนิล ชั้น 1 สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ส่วนงานต่าง ๆ รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในแนวทางและทิศทางของแผนพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้หน่วยงานภายในได้มีส่วนร่วมในการบูรณาการโครงการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดกิจกรรมการถ่ายทอดและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ปรับปรุงปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนได้ร่วมรับฟังและเข้าใจแนวทางการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้ โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดงานและบรรยายความสำคัญของแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ปรับปรุงปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 พร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมถ่ายทอดแผนพัฒนาฯ แนวทางการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan: AP) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงการวิจัย การสร้างต้นแบบ การนำผลงานไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งมีเวทีเสวนาความเชื่อมโยงการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ และการยกตัวอย่างการบูรณาการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน โดยมีผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานด้านนโยบายและแผน วิจัย และวิชาการ และบุคลากรที่สนใจร่วมประชุม เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 ณ หอประชุม NSP Rice Grain Auditorium อุทยานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ร่วมกันจัดทำกรอบความร่วมมือเพื่อดำเนินงานขับเคลื่อนความร่วมมือทางวิชาการเพื่อประเมินผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม เมื่อวันที่ 18 – 19 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ไฮไลต์กิจกรรม
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้าน การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน
นำเสนอ “ระบบสนับสนุนการติดตามและประเมินผลตอบแทนทางสังคม”
การนำเสนอแนวทาง “มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในฐานะเมืองอัจฉริยะ” และศึกษาดูงาน
การจัดทำแผนปฏิบัติการและลำดับความสำคัญของแผนงาน/โครงการเพื่อดำเนินงานขับเคลื่อนความร่วมมือทางวิชาการเพื่อประเมินผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม
ผลลัพธ์สำคัญจากโครงการ
เกิดแนวทางความร่วมมือทางวิชาการที่เป็นรูปธรรม
ได้กรอบการทำงานร่วมกันเพื่อประเมินผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม
แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยและชุมชน